พลังงานลม กับโครงการตามพระราชดำริ

0
3063

พลังงานลม เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ทางอ้อม คือเมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกแระทบในภาคตัดขวางของโลกในปริมาณแสล้านวัตต์ จะมีเพียง 0.2% ของพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของอากาศ ซึ่งก็คือพลังงานลมนั่นเอง และยังทำให้เกิดคลื่นในมหาสมุทรอีกด้วย

สำหรับพลังงานลมแล้ว คนอาจจะเห็นการนำมาใช้ประโยชน์ได้ชัดเจนในรูปแบบกังหันลม และวัตถุประสงค์หลักๆของการนำพลังงานลมมาใช้ในรูปแบบกังหันลมก็เพื่อการสูบน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าคะ

พลังงานลม

พลังงานลม

หลักการทำงานของที่จะนำพลังงานลมมาใช้ก็คือ การเปลี่ยนพลังงานจลน์ของกระแสลมให้มาเป็นรูปของพลังงานกลนั้นเองคะ กังหันลมสามารถแบ่งตามลักษณะการจัดวางแกนของใบพัด แบ่งได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. กังหันลมใบพัดแกนตั้ง (Vertical Axis Turbine /VAWT) โดยแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ มีข้อดีกว่ากังหันใบพัดแกนนอนก็คือสามารถรับลมที่เข้ามาได้ทุกทิศ โดยไม่มีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลม และสามารถซ่อมแซมได้ง่าย สะดวก เนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบกำลังส่งถูกติดตั้งไว้ใกล้พื้นดิน
  2. กังหันลมใบพัดแกนนอน (Horizontal Axis Turbine / HAWT) โดยแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม จะมีหางเสือไว้คอยควบคุมให้กังหันหันไปตามทิศทางของกระแสลม

การนำกังลมมาใช้จะเห็นได้ชัดจากโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอุดลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระองค์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเชื่อมโยงรวมถึงการใช้พลังงานอย่างประหยัดและพลังงานทางเลือกอย่างพลังงานลมด้วย พระองค์ทรงนำแนวทางไปศึกษาพัฒนาและนำมาปฏิบัติจริงในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของทรัพยากรประเทศและสภาพแวดล้อม เพราะประเทศไทยมีความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่ 4-5 เมตรต่อวินาทีซึ่งถ้าเทียบกับต่างประเทศอยู่ที่ 7 เมตรต่อวินาที จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากังหันลมให้เหมาะสมกับสถาพอากาศบ้านเรา จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำ โดยพระองค์ทรงเริ่มจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและใช้พลังงานลมทำการวิดน้ำเพื่อถ่ายเทน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลมานานกว่า 20 ปี

นอกจากนี้กังหันลมได้ถูกสร้างขึ้นตามโครงการต่างๆของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอุดลยเดช รัชกาลที่ ๙ เช่นโครงการผลิตพัฒนาพื้นที่เขาหินซ้อน ได้นำกังหันลมมาใช้ในโครงการ โดยติดตั้งกังหันลมจำนวน 30 ใบ กังหันลมจะเริ่มทำงานเมื่อความเร็วลมประมาณ 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้สามารถสูบน้ำขึ้นไปเก็บในถังสูงได้เฉลี่ยวันละ 10-20 ลูกบาศก์เมตร , โครงการพัฒนาอุทยานเฉลิมพระเกียรติบริวเวณโครงการสระเก็บน้ำพระราม 9 ตามแนวพระราชดำริที่ อำเภ ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,827 ไร่ ได้นำพลังงานลมมาสร้างระบบไฟฟ้าในพื้นที่โครงการ เป็นกังหันลมที่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้แม้ความเร็วลมต่ำ และไม่มีเสียงรบกวน

อีกหนึ่งสถานที่ที่คนส่วนใหญ่รู้จักก็คือโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ภายในโครงการจำมีพื้นที่ที่เรียกว่า “ ทุ่งกังหันลมผลิตไฟฟ้” มีการติดตั้งกังหันลมจำนวน 20 ตัน ขนาดกำลังผลิต 50 วัตต์ ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเข้ามารับซื้อพลังงานที่ผลิตได้ ณ ที่นี้ถือว่าเป็นฟาร์มแห่งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ยิ่งกว่านั้นพลังงานลมตามแนวพระราชดำริยังถูกนำไปใช้ที่ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบริเวณที่มีภูเขาแห้งเล้ง เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย กังหันลมถูกติดตั้งไว้บนยอดภูเขาเพื่อสูบน้ำจากด้านล่างขึ้นมายังภูเขาบริเวณที่มีการปลูกป่าใหม่ สร้างความชุ่มชื้นและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นไม้

เราจะเห็นได้ว่าการนำพลังงานลมมาใช้จะช่วยลดการสูญเสียเงินจากการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ และพลังงานลมยังเป็นพลังงานที่สะอาดไม่สร้างมลภาวะต่อโลก แล้วจะมีเหตุผลใดที่เราจะไม่หันมาใช้ประโยชน์จากพลังงานลมกันคะ